ประเพณีวันมาฆบูชา

                                                                       วันมาฆบูชา
วันขึ้น 15 คํ่าเดือน 3 วันมาฆบูชา
• วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่ 15 คํ่า เดือน 3 หรือราวเดือนกุมภาพันธ์ แต่หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น15 คํ่ากลางเดือน 4 หรือประมาณเดือนมีนาคม เป็นวันที่ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ มาฆบูชาย่อมาจากคําว่า มาฆปุรณมีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 3 ถือ เป็นวันจาตุรงคสันนิบาต แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ 4 ซึ่งมีเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกัน คือ พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป ซึ่งจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป เหล่านี้ ล้วนเป็นพระอรหันต์ และได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า โดยตรง ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป ต่างมาประชุมพร้อมเพียงกัน โดยมิได้มีการนัดหมาย วันที่มาประชุม ตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะ (วันเพ็ญกลางเดือน 3) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรง แสดงพระธรรมเทศนา อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาคือ โอวาทปาติโมกข์
โอวาทปาฏิโมกข์
• โอวาทปาฏิโมกข์ คือ ข้อธรรมย่อ อันเป็นหลัก หรือหัวใจสำคัญของ พระพุทธศาสนา 3 ประการ ได้แก่
1. ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
2. ทำความดีให้ถึงพร้อม
3. ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส
การแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ พระพุทธเจ้า ทรงกระทำ เมื่อตรัสรู้แล้ว 9 เดือน
การปลงมายุสังขาร
• หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และสั่งสอนพระธรรมมาเป็นระยะเวลา 45 ปี พระองค์ทรงปลงมายุสังขาร คือตั้งพระทัยว่า "ต่อแต่นี้ไปอีก 3 เดือน เราจักเสด็จดับขันธปรินิพพาน" การปลงอายุสังขาร ตรงกับวันมาฆบูชาในปีที่ พระพุทธองค์มีพระชนมายุ 80 พรรษา
• ด้วยเหตุนี้ ในวันมาฆบูชา ชาวพุทธจึงถือว่าเป็น วันที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า รวม 2 ประการ คือ เป็นวันที่แสดงโอวาทปาติโมกข์ และเป็นวันปลงอายุสังขาร